Math & Statistics

Fishbone diagram เขียนหัวปลาไว้ด้านซ้ายได้ไหม?

พอดีวันนี้เรามี Class Intro เรื่อง Six Sigma กัน ผมก็เซ็งๆ นิดหน่อยเพราะมันแค่ Preview จริงๆ ให้คนที่ไม่เคยรู้เรื่อง Six Sigma มาก่อนได้ทำความรู้จักมัน แต่มันมีอยู่บางประเด็นที่ผมขอเขียนถึงวันนี้ ตอนแรกคิดว่าจะขอตอบใน Class แต่อารมณ์เกรงใจอาจารย์ที่สอนก็เลยขอมาเล่าให้ฟังในนี้ดีกว่า

คำถาม “เขียนหัวปลาไว้ด้านซ้ายได้ไหม” ถูกโยนขึ้นมากลางคลาส ผมมีแอบยิ้มเล็กๆ เพราะผมเข้าใจดีว่ามันมีอะไรแบบนี้ฝังอยู่ในหัวน้องๆ พนักงานผมมานาน … จริงๆ ก็รู้แหล่ะว่ามันมีสาเหตุจากอะไร แต่ไม่มีโอกาสได้ไขความกระจ่างให้พวกเขาสักที

สิ่งที่น้องเขาพูดถึงก็คือรูปที่ปลาหันหัวไปทางซ้ายแบบนี้ครับ

Fish-Bone1-e1325870956744

โดยปกติส่วนใหญ่แล้วเราจะเห็นหัวปลาหันไปทางด้านขวา ….เอ …. แล้วอันไหนมันถูก

ก่อนอื่นผมอยากจะพาย้อนกลับไปดูว่าท่าน ดร.อิชิกาวา ผู้สร้างเครื่องมือนี้ขึ้นมา เขามีเจตนาว่าต้องการให้ Tools เนี้ยใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ส่งผลถึงปัญหาต่างๆ ต่อมาฝรั่งเขาเลยเอาไปใช้แล้วเรียกมันว่า Cause and Effect Diagram

วิธีการคร่าวๆ ก็คือ

  • ทีมจะต้องตกลงกันแล้วให้เขียนปัญหาลงไปที่หัวปลา
  • เขียนสาเหตุหลักหรือหมวดหมู่ของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานั้นโดยใช้ลูกศรทิ่มไปที่กระดูกสันหลังของปลา
  • จากนั้นก็เขียนประเด็นว่า ทำไม(why)ถึงเกิดสาเหตุนี้ขึ้น ทิ่มลงไปที่สาเหตุนั้นๆ

ตัวอย่างรูปที่ผมกล่าวถึงก็ประมาณนี้

fishbone_000827

ก้างที่ทิ่มไปที่กระดูกสันหลังของปลา อย่างที่บอกว่าเราใส่สาเหตุหลักไปเลยก็ได้หรือจะกำหนดหมวดหมู่ของสาเหตุก็ได้ซึ่งก็มีคนนิยมใช้หลักการต่างๆ เช่น

4P, 4M, 5M 1E, 6M, 7P, 5S โอย..เยอะครับ ลองไปอ่านกันดูว่ามันคืออะไรกันบ้าง http://en.wikipedia.org/wiki/Ishikawa_diagram

ซึ่งประเด็นที่ทำให้เราได้ประโยชน์จากผังก้างปลาอันนี้ก็คือ ทีมได้ช่วยกันระดมสมองเพื่อหาสาเหตุของปัญหา ช่วยกันจัดกลุ่มของสาเหตุของปัญหาให้เป็นระเบียบ ดังนั้นการใช้ผังก้างปลาจะได้ผลดีมาก ถ้าทีมช่วยกันคิดและมีเทคนิคการ Brainstorming ที่ดี ซึ่งนั่นจะทำให้เราได้ต่อยอดจากเพื่อนนึกถึงสาเหตุที่เรานึกไม่ถึงเวลาเราระดมสมองแล้วความคิดมันก็จะถูกต่อยอดกันไปเรื่อยๆ

หลังจากที่เราระดมสมองได้สาเหตุแล้วเราก็เอาสาเหตุนั้นไปจัดการดำเนินการต่อไป

ย้อนกลับไปคำถามที่ผมจั่วหัวไว้ “เขียนหัวปลาไว้ด้านซ้ายได้ไหม?

ผมอยากให้เราลองกลับไปคิดดูว่าแก่นแท้ของ Fishbone Diagram คืออะไร จุดไหนประเด็นไหนที่ทำให้เราสามารถนำประโยชน์จาก fishbone diagram ไปใช้ได้สูงสุด

เราได้ประโยชน์จากการหันของหัวปลา  หรือว่าจากการหาสาเหตุของปัญหา
เราได้ประโยชน์การทำตามพิมพ์นิยม หรือว่าเราได้ประโยชน์จากการช่วยกัน brainstorming

ผมไม่เถียงว่าก็คนอื่นเขาเขียนหัวปลาไปทางขวากันนะ … แต่ลองถามกลับไปสิ ว่าเขียนทางซ้ายแล้วมันเป็นยังไง (ไว้วันหลังผมไปผมไปอ่าน “Guide to Quality Control” ของ ดร.อิชิกาวา แล้วมาเล่าให้ฟังละกันว่าแกบังคับให้เขียนไปทางขวาไหม) แต่ที่แน่ๆ ก็คือว่า ผมแทบไม่เคยได้ยินใครให้ความสำคัญกับทางซ้ายทางขวานัก

ทีนี้เรามาดูคำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับการสร้าง Cause and Effect Diagram กันดีกว่า

อย่างอันนี้เขาบอกว่า มันจะดีมากเลยนะถ้าไอ้นี่ถูกใช้ในทีมหรือในกลุ่มและเขาก็แนะนำให้ใช้ Post-it Note เผื่อว่าเราจะได้ย้ายสาเหตุที่เราเขียนไปตาม categories ที่เราสร้างขึ้น แล้วก็เขียนปัญหาไว้ซักด้านนึงของพื้นที่กำลังทำงานละกัน  

2014-03-18_23h06_58

ส่วนอันนี้เขาบอกว่าให้เขียนปัญหาใส่กรอบไว้ทางด้านซ้ายบนกระดาษใบใหญ่ๆ หน่อยนะ บางคนก็ชอบเขียนไว้ทางด้านขวา ก็เลือกเอาละกันอันไหนที่จะทำให้คุณรู้สึกสบายๆ ไม่ลำบากเวลาจะใส่สาเหตุเข้าไป

2014-03-18_23h07_36

อันนี้เขาบอกว่าเขาแนะนำอย่างแรงให้ใช้กระดาษกับปากกาในการเขียนความคิดคุณลงไปนะ มันดีกว่าเขียนบนคอมพิวเตอร์แยะเลย เพราะประสบการณ์ที่เขาเจอก็คือความคิดดีๆ มันชอบถูกขัดจังหวะเสมอ เพราะเราต้องไปคอยวาด Textbox และต้องมาจัด format ตัวอักษรบ้าบออะไรก็ไม่รู้ตั้งมากมาย

2014-03-18_23h08_24

ตกลงว่ามันควรจะต้องหันซ้ายหรือหันขวาครับ?

Reference :

http://www.isixsigma.com/tools-templates/cause-effect/cause-and-effect-aka-fishbone-diagram/
http://www.academia.edu/419987/Cause_and_Effect_Diagrams
http://en.wikipedia.org/wiki/Ishikawa_diagram

Click to access Fishbone%20Diagram.pdf

http://www.mindtools.com/pages/article/newTMC_03.htm
https://www.moresteam.com/toolbox/fishbone-diagram.cfm
http://www.bulsuk.com/2009/08/using-fishbone-diagram-to-perform-5-why.html
http://www.princeton.edu/~achaney/tmve/wiki100k/docs/Ishikawa_diagram.html
http://www.smartdraw.com/software/cause-and-effect-diagram-examples.htm

Leave a comment