Uncategorized

ที่ซู๊ด..ที่สุด ปี 2556

ผมชอบมากเวลาที่มีใครรวบรวมเหตุการณ์ที่สุดแห่งปีมาให้ได้ดู .. ปีนี้มาลองรวบรวม “ที่สุด” ของตัวเองบ้างดีกว่า

ซึ้งใจสุดๆ – คงเป็นเพื่อนพ้องน้องพี่ที่บริษัท ทั้งบริษัทตัวเอง บริษัทรอบข้าง และ จนท.ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายในเหตุการณ์น้ำท่วมที่อมตะนครฯ ชลบุรี น้ำอยู่กับเราเกือบๆ เดือน แบ่งทุกข์แบ่งสุขกันไป อาสาช่วยทุกทางที่ตัวเองทำได้… แม้กระทั่งผู้บริหารระดับสูงของอมตะอย่างคุณวิบูลย์ กรมดิษฐ์ ก็ยังตระเวณดูน้ำอยู่กับพวกเรายันตี 1 ตี 2 คุยกันก็เฮฮากันไป … ซึ้งใจจริงๆ ครับ

เหนื่อยที่สุด  – เป็นเหตุการณ์เมื่อตอนเดือนมีนาคม-เมษายน เงินเดือนพนักงานผิดกระจาย สาเหตุและที่มาที่ไปนั้นผมได้แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องไปตั้งแต่ปี 2012 เหมือนผู้ที่มีอำนาจไม่เห็นโรงศพก็ไม่หลั่งน้ำตา ไม่รู้สึกต้องรับผิดชอบอะไร ผมก็เลยปล่อยบ้างไม่งั้นเดี๋ยวจะเป็นหนูวิ่งบ้าอยู่คนเดียว สุดท้ายปัญหาเกิดขึ้นจริงๆ 9 เดือนหลังจากนั้น แต่สุดท้ายคนที่ต้องรับชะตากรรมก็เป็นผมอยู่ดี เล่นเอาไม่ได้หลับไม่ได้นอนติดกันหลายวันตลอดสองเดือนนั้น

ได้ความรู้ใส่หัวมากสุด – น่าจะเป็น 2 เหตุการณ์คือ เหมารอบรำวง Software Testing ของพี่หนุ่ม กับ Entity Framework Part 1 & 2 ของ อ.สุเทพ พี่หนุ่มปล่อย workshop ให้เราลุยใช้สมองกันเต็มที่โดยที่ไม่มีเฉลยบอกว่าทำอย่างไรถึงจะถูกหรืออย่างไรมันถึงผิด สิ่งที่เราได้เรียนรู้มากๆ คือเราได้เรียนรู้เรื่องนั้นจากวิธีคิดของเพื่อนๆ ทุกกลุ่ม เราได้เห็นแนวคิดที่แตกต่างออกไปในแต่ละกลุ่ม คอร์สนี้เด็ดมากจริงๆ  ส่วนของ อ.สุเทพ แห่ง greatfriends.biz ได้เรียนด้วยทีไรก็สนุกทุกทีเพราะนอกจากที่จะได้เรียนเนื้อหาตามคอร์สแล้ว เราก็ยังได้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย รวมทั้งความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ เติมเข้ามาในหัวตลอดคลาส …. เรียกได้ว่า 2 คอร์สนี้ผมชอบที่สุด แล้ว
Continue reading

Uncategorized

พลังของการแก้แค้น

จำไม่ได้ว่าอ่านหนังสือของใคร … ผู้เขียนเล่าว่าข้อดีของการแก้แค้นคือช่วยลดไม่ให้คนมาทำสงครามกัน เพราะต่างฝ่ายต่างก็กลัวว่าถ้าหากเราทำอะไรลงไปแล้ว ไม่รู้ว่าจะโดนตอบโต้กลับมามากน้อยแค่ไหน

ที่กล่าวถึงเพราะเพิ่งอ่านที่ ดร.โกร่งเขียนถึง เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2005   ดร.ธอมัส ซี เชลลิ่ง ได้พิสูจน์ว่าบางทีการแสดงให้เห็นว่าศักยภาพหรือความสามารถ หรือมีทางเลือกหลายทางที่จะตอบโต้ หรือแก้แค้นอาจจะมีประโยชน์ในการยับยั้งการโจมตีได้ดีกว่า การแสดงศักยภาพในการตั้งรับการโจมตี

หนังสือของ ดร.เชลลิ่ง ชื่อ “ยุทธวิธีที่ใช้กับความขัดแย้ง” ตีพิมพ์ในปี 1960 พยายามพิสูจน์โดยใช้ทฤษฎีการเล่นเกมว่า ถ้าสหรัฐแสดงให้รัสเซียเห็นว่าสหรัฐมีศักยภาพทางนิวเคลียร์เพียงพอที่จะตอบโต้ หรือแก้แค้นได้อย่างรุนแรงยิ่งกว่าความเสียหายที่ถูกโจมตี สงครามก็จะไม่เกิดขึ้น

เอามาประยุกต์ใช้กะบ้านเราได้ไหมน๊า …

Hack

Physical Hack

ในช่วงที่ทีม IT กำลังชุลมุนกับการย้ายห้อง Server อยู่นั้น ทั้งบริษัทก็ไม่มีใครมาทำงาน ปัญหาที่เราเจอก็คือ เราจำเป็นต้องเข้าไปที่ห้องแห่งความลับเพื่อไปเชื่อมสาย Fibre optics  แต่เราเข้าไม่ได้เนื่องจากห้องนั้นมันเป็น Automatic door lock ผู้ที่มีบัตรหรือลายนิ้วมือที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นถึงจะเข้าไปได้

แล้วเราจะทำยังไงกันดี? เอ… หรือว่าคราวนี้ทีม IT เราจะจนแต้มเข้าให้แล้ว

เราตัดสินใจตัดไฟห้องนั้น โดยปกติ ประตูใช้งานแบบที่เป็น Emergency Exit แบบนี้มันควรจะต้องเป็น Fail Safe ดังนั้นถ้าหากไฟดับ มันควรจะต้องเปิดให้เราเข้าไป

ปรากฎว่าแห้ว …. หลังจากตัดไฟมันก็ไม่มีทีท่าว่าจะเปิดให้เราเข้าไปสักที ไม่น่าเชื่อว่าเขาจะตั้งเอาไว้ว่าให้มันเป็นเป็น Fail Secure ไฟจากแบตเตอรี่ถูกจ่ายให้กับแผงแม่เหล็กเพื่อดูดประตูเอาไว้ รออยู่หลายชั่วโมงก็ไม่สำเร็จ แผนนี้ล้มเหลวไปโดยปริยาย

 

โรยตัว … หลังจากนั้นเรากะว่าจะโรยตัวลงแบบ Tom Cruise ใน Mission Impossible แต่ดูน้ำหนักของ IT แต่ละคนแล้วคาดว่าคงจะหล่นตุ้บลงมาเสียก่อน … เราก็เลยไม่เอาตัวเลือกนี้

MISSION IMPOSSIBLE

 

 

ทางที่สาม เราก็จะ hack ไอ้ตัว finger scan นี่แหล่ะ

finger-scan

หลังจากที่สมาชิกในทีม (ที่ไม่อาจเปิดเผยรายชื่อได้) แงะไอ้เจ้านี่ออกมากจาผนัก จะเห็นว่าสายไฟสีเขียวกะแดง 2 เส้นบนเป็นไฟ 12V กะ GND แล้วมันก็มี NO (Normal Open) และ NC (Normal Close) ให้จิ้ม … ก็จิ้มเลย … เราก็ได้ยินเสียงตัง ตึ้ง! จากประตู แล้วก็เปิดเข้าไปอย่างง่ายดาย

… อยากจะให้ทุกคนมาเห็นภาพนั้นจริงๆ ไอ้หมอนั่นมันหันมาอย่างช้าๆ ราวกับภาพสโลโมชั่นของพระเอก ..แล้วบอกกับคนอื่นว่า “จะมีไว้ทำไมวะ ไอ้ Finger scan เนี่ย” 🙂

 

Uncategorized

ปฏิบัติการย้ายห้อง server

วันนี้มาย้ายห้อง server จากชั้น 1 ขึ้นบันไดไปไว้บนชั้น 2 เนื่องจากฝ่ายผลิตที่อยู่ข้างๆ ต้องการใช้พื้นที่

IT อย่างเราก็เลยต้องหลีกทางให้โดยสงบ การย้ายห้องนั้นลำบากกว่าที่คิดไว้พอสมควรเนื่องจากข้อจำกัดหลายอย่างเช่น

  • ชั้นสองไม่ได้ออกแบบมาไว้สำหรับวางเครื่องจักรหนักๆ ทำให้เราต้องประเมินกันอย่างหนักว่าจะรับน้ำหนักตู้ rack ที่หนักรวมตันกว่าๆ ได้ไหม ทางออกที่วิศวกรให้ก็คือให้วางไว้บนคานเท่านั้น
  • ย้ายเครื่องปรับอากาศ 2 ตัว พร้อมคอมเพรสเซอร์ และท่อน้ำทิ้ง
  • ย้ายระบบไฟและระบบสัญญาณเตือนภัย
  • และที่หนักสุดคือระบบเน็ตเวิร์คซึ่งมี Fibre อยู่ 4 เส้นและ servers &  sans  ทั้งหมดขึ้นไป ครึ่งนึงยังเป็น tower ที่ไม่ได้ใช้ในระบบหลักแล้ว แต่ก็ยังใช้ทดสอบงานต่างๆได้อยู่

แม้ว่าการ wiring สายของเดิมทำได้ค่อนข้างดี แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าย้ายขึ้นไปแล้วมันจะดีดังเดิม ความสั้นยาวของสายเปลี่ยนไปเมื่อ layout มันเปลี่ยน การไหลของอากาศก็ต้องวางใหม่เมื่อขนาดห้องไม่เหมือนเดิม

ตอนนี้เสียวๆ รู้สึกไปเองว่าพื้นมันแอ่นๆ ลงไป …

Travel

เปิดกะโหลก … ที่สิงคโปร์

ความเดิมตอนที่แล้ว

ผมนั่งหลับๆ ตื่นๆ จนพระอาทิตย์ขึ้นจึงได้ฤกษ์เริ่มเดินทางต่อไป ผมต้องไปอีก Terminal นึงของสนามบินเพื่อไปขึ้นรถไฟฟ้าเข้าเมือง สนามบิน Changi มีรถไฟวิ่งรับ-ส่งระหว่าง Terminal แบบไม่มีคนขับ!! (ตอนนั้น terminal 3 ยังสร้างไม่เสร็จ)  ภาพที่ผมเห็นอยู่ตรงหน้ามันทั้งประหลาดใจและเศร้าใจ … นี่บ้านอื่นเมืองอื่นเขาใจเทคโนโลยีกันขนาดนี้แล้ว แต่สนามบินสุวรรณภูมิบ้านเราที่ปากกล้าบอกจะเป็นศูนย์กลางการบินแห่งภูมิภาคนี้เทียบไม่ติดเลย

ผมเดินลงบันไดเลื่อนที่โคตรจะยาวลงไปชั้นใต้ดินเพื่อนขึ้นรถไฟฟ้า ถ้าดูจากแผนที่ผมต้องไปต่อรถอีกขบวนด้วย

สิ่งที่สร้างความประหลาดใจอีกครั้งคือ … จู่ๆ รถไฟฟ้าที่วิ่งอยู่ใต้ดินมันก็เหินลอยเหนือพื้นดินขึ้นมาอยู่บนฟ้า!!

ผมจำฝังใจมาตลอดว่าตอนผมเด็กๆ นั้น นักการเมืองในสภาฯ บ้านเรากำลังเถียงกันอย่างเอามันส์ว่าจะทำรถไฟฟ้าใต้ดินหรือรถไฟฟ้าบนดินดี จนบางคนก็เขียนการ์ตูนล้อเลียนว่า ก็ให้มันมุดดินบ้างขึ้นบนดินบ้าง อารมณ์ประมาณรถไฟเหาะตีลังกา ผมเลยทึกทักเอาเองไปว่า เราต้องเลือกเอาสักอย่าง อย่างใดอย่างนึง อย่ามาทำตลกเป็นรถไฟเหาะตีลังกา

เชี่ย…. กะลา

… ที่สิงคโปร์มันไม่ใช่ … มันไม่ใช่เรื่องตลกหรือไม่ตลก อยู่นอกพื้นที่ใจกลางมืองก็ขึ้นฟ้า สร้างง่าย ค่าใช้จ่ายไม่แพง … อยู่ใจกลางเมืองก็มุดดินซะ เราก็จะเห็นรถไฟฟ้าเขาขึ้นฟ้าลงดิน เป็นปกติ
Continue reading

Uncategorized

เศรษฐศาสตร์ กับ วิธีประมูล

วันนี้บ้านเรามีการประมูลทีวีดิจิตอลกันท้้ง HD และ SD ราคา HD ที่แต่ละเจ้าประมูลได้นี่ 3000 กว่าล้าน ส่วน SD ก็ซัดกันอย่างโหด ต่ำที่สุดอยู่ที่ 2200 ล้าน

พอดิบพอดีที่ผมอ่านถึงที่ ดร.โกร่ง เขียน ดร.เวอร์นอน แอล สมิท ดร.ชาร์ลส์ พลอตต์ ได้ทำการทดลองทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการประมูล

ปกติวิธีประมูลจะมีอยู่ 4 แบบ

  1. แบบอังกฤษ (English auction) คือประมูลโดยผู้ขายประกาศราคาต่ำสุดแล้วให้ผู้ซื้อเคาะราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ จนไม่มีใครให้สูงกว่านี้
  2. ประมูลแบบดัตซ์ โดยผู้ขายประกาศราคาสูงสุด เมื่อไม่มีใครซื้อก็ประกาศราคาต่ำลงไปเรื่อยๆ จนมีคนซื้อ
  3. ประมูลโดยเขียนใส่ซองเป็นความลับ ผู้ให้ราคาสูงสุดหรือเสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะแล้วแต่กรณี หรือเราจะเรียกมันว่า first price auction
  4. ผู้ประมูลยื่นซอง ผู้ที่ให้ราคาสูงสุดหรือต่ำสุดเป็นผู้ชนะการประมูล แต่จ่ายในราคาที่สูงสุดหรือต่ำสุดเป็นลำดับที่สองแล้วแต่กรณี หรือเรียกว่า bid second price auction

ผลการทดลองพบว่าโดยเฉลี่ยผู้ขายจะสามารถคาดได้ว่าการประมูลแบบอังกฤษให้ผลลัพธ์เท่าๆ กับการประมูลแบบผู้ให้ราคาสูงสุดชนะแต่จ่ายในราคาสูงสุดเป็นลำดับสอง

ขณะเดียวกันเขาก็พิสูจน์ว่าการประมูลแบบดัตซ์กับการประมูลแบบลับเมื่อได้ราคาสูงสุดมีผลเท่ากันนั้น “ไม่จริง”

แล้วก็พบว่าการประมูลแบบอังกฤษกับการประมูลแบบผู้ให้ประมูลจ่ายราคาสูงเป็นอันดับที่สองให้ผลตอบแทนต่อการประมูลสูงสุด

การทดลองเรื่องที่ผมกล่าวถึงเมื่อวานกับวันนี้ทำให้ ดร.เวอร์นอน แอล สมิท ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2002

 

Uncategorized

ทฤษฎีหน่วยสุดท้าย

ปีที่แล้วผมได้อ่านหนังสือรวมเล่มคอลัมภ์ “คนเดินตรอก” ของ ดร.โกร่ง วีรพงษ์ รามางกูร ที่กล่าวถึง ทฤษฎีหน่วยสุดท้าย marginality theory

เขาบอกว่าในกรณีที่ตลาดมีความต้องการซื้อและความต้องการขายเท่ากันอย่างสมบูรณ์   เช่น

สมมติเราผลิตสินค้าเกษตรได้ 50 ล้านตัน และความต้องการของตลาด ณ ราคาสมมติ 10,000 บาท/ตัน มีอยู่ 50 ล้านตันพอดี คนซื้อ และคนขายก็พอใจกับราคานี้

แต่ถ้าหากคนซื้อต้องการซื้อที่ 10,000 เหมือนเดิม แต่ดันเกิดภัยพิบัติ ทำให้สินค้าหายไป 5 ล้านตัน และไม่มีแหล่งอื่นมาทดแทนได้ ราคาสินค้าทั้ง 45 ล้านตัวที่เหลือจะถีบตัวขึ้นสูงหมด … ไม่ใช่เพียงเฉพาะ 5 ล้านตันที่หายไปเท่านั้น 

แต่ในทางกลับกัน ถ้ามีสินค้าเพิ่มเข้ามา 5 ล้านตัน เป็น 55 ล้านตันในขณะที่ความต้องการยังเป็น 50 ล้านตันเหมือนเดิม … ราคาสินค้าก็จะลดลงทั้งหมด ไม่ใช่ลดเฉพาะ 5 ล้านตันที่เพิ่มเข้ามา

ด้วยเหตุนี้แหล่ะการผลิตหน่วยสุดท้ายหรือจำนวนสิ่งของหน่วยสุดท้ายจึงเป็นตัวที่กำหนดราคาของทั้งตลาด 

ที่นึกถึงเพราะเมื่อวานได้มาอ่านหนังสือ รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ที่ ดร.โกร่งได้สรุปมาไว้ให้ ก็ทำให้นึกถึงทฤษฎีหน่วยสุดท้ายที่ว่าไว้ข้างบน

ดร.เวอร์นอน แอล สมิท ศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์และกฎหมายที่มหาวิทยาลัยจอร์จ เมสัน ได้รับรางวัลโนเบลปี 2002 ได้ทำการทดลองทฤษฎีเบื้องต้น ในสภาพตลาดที่มีการแข่งขันทีสมบูรณ์ “Perfect competition” 

เมื่อมีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก ราคาตลาดจะเป็นราคาที่ทำให้ปริมาณที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ และเป็นราคาที่ผู้ขายต้องการจะขายเท่ากันพอดี

ณ ราคาที่ว่านั้น มูลค่าของสินค้าที่ซื้อโดยคนสุดท้ายจะเท่ากับมูลค่าที่ผู้ขายคนสุดท้ายต้องการจะขายหรือมูลค่าที่คนซื้อจะให้กับหน่วยสุดท้ายของสินค้านั้น จะเท่ากับมูลค่าที่คนขายจะให้กับสินค้าหน่วยสุดท้ายของสินค้านั้น

ดร.สมิททำการทดลองโดยกำหนดว่าใครเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายโดยให้แต่ละคนตรวจดูสินค้าแล้วกำหนดว่าถ้าแต่ละคนเป็นเจ้าของสินค้านั้น ราคาต่ำที่สุดที่ตนจะขายเป็นเท่าไหร่ ขณะเดียวกันถ้าตนเป็นผู้ซื้อ ราคาสูงสุดควรเป็นเท่าไหร่ตนจึงจะยอมซื้อ ด้วยวิธีนี้ ดร.สมิทสามารถบอกได้ว่า ราคา ณ ดุลยภาพ หรือราคาที่ยอมรับได้ที่ทำให้การซื้อกับการขายเท่ากันนของไม่เหลือ เป็นราคาเท่าไหร่ในทางทฤษฎี

สิ่งที่ ดร. สมิทแปลกใจมากก็คือ ราคาตามทฤษฎีและราคาที่ทำให้ปริมาณการซื้อกับการขายเท่ากันนั้นใกล้เคียงกันมาก โดยคนที่ถูกใช้ในการทดลองไม่มีข้อมูลอะไรที่จะใช้คำนวณราคาดุลยภาพ

Uncategorized

Security Visualization

เทคนิคนึงที่ System Engineer น่าจะเอามาใช้ในการตรวจตราระบบที่เราดูแลรับผิดชอบอยู่ก็คือ Visualization คือการทำให้เราเห็นสิ่งต่างๆ กับตาเอาเอง

ดูตัวอย่างรูปด้านล่างนี้ เราจะเห็นว่าด้วยตัวเลขที่มันปนกันมั่วๆ แล้วให้เราดูว่ามันมีเลข 8 อยู่กี่ตัว

snapshot112

 

จะเห็นว่าเลข 8 ที่อยู่ในฝั่งขวามือ  นับง่ายกว่าฝั่งซ้ายมือเยอะ เพราะเพียงมันมีเฉดสีต่างออกไป

ซึ่งถ้าเราเอาเทคนิคนี้มาประยุกต์ใช้กับการตรวจดูแลระบบของเรามันก็จะทำให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้นเพียงเพราะเราสามารถมองความผิดปกติได้ง่ายขึ้น เช่น

ถ้าเราเอาจำนวนครั้งที่ user login มาplot เป็น graph เราก็จะดูได้ง่ายดีกว่าไปนั่งดูข้อความดิบๆ จาก log

snapshot113

Remark : รูปทั้งหมดเอามาจากหนังสือ Applied Security Visualization ของ Raffael marty

http://www.amazon.com/Applied-Security-Visualization-Raffael-Marty/dp/0321510100

 

 

Uncategorized

ODBC 32 bits & 64 bits

เมื่อเช้าไปขุดเมล์เจอเมล์เก่าที่น้องในทีมมีปัญหาเรื่องการ config ODBC บนเครื่อง client ที่มี architecture ต่างกันคือ 32 bits กับ 64 bits

เราอยู่ในโลก 32 bits มานาน จนมาเจอเครื่อง client ที่ลง 64 bits OS  มาก็งงว่ามันไปเกิดอะไรขึ้น … set config  System DSN ไม่ได้สักที (ODBC Driver เป็น 32 bits)

ผมก็ guide ไปว่าลองหา driver 64 bits มาลงสิ ส่วนน้องในทีมอีกคนก็บอกว่า เท่าที่เขาเคยเจอ เขาไป set ODBC System DSN ผ่านโปรแกรมนี้ C:\Windows\SysWOW64\odbcad32.exe แทน

ทั้ง 2 solutions นี้ใช้งานได้ทั้งคู่ … แต่มันเกิดอะไรขึ้นล่ะ?

หลักการมันคือ
1) 32-bits ODBC Admin Tool มันจะแสดง 32-bits User DSN, 32-bits System DSN, 64-bits User DSN
ส่วน 64-bits ODBC Admin Tool มันจะแสดง 64-bits User DSN, 64-bits System DSN, และ 32-bit User DSN

หรือ 2) เมื่อ Application ที่เป็น 32 bits มันเรียก ODBC Data Sourceเจ้า ODBC มันก็จะ return 32bits system DSN และ ทั้ง 32bits-64bits USER DSN
เมื่อ Application ที่เป็น 64 bits มันเรียก ODBC Data Source เจ้า ODBC มันก็จะ return 64bits system DSN และทั้ง 32bits-64bits USER DSN

งงไหม? …. นั่นทำให้เวลาเราใช้เครื่อง 64 bits มันจะมองไม่เห็น 32-bit system DSN

ทางออกก็ง่ายๆ ก็คือ

1) ในเมื่อเราใช้บนเครื่อง 64 bits ก็ใช้ ODBC ที่เป็น Driver 64 bits สิ เห็นได้ทั้ง System DSN และ User DSN
2) ก็ใช้ 32 bits application (C:\Windows\SysWOW64\odbcad32.exe) เปิดสิ มันก็จะเห็น 32 bits system DSN
3) สร้าง Data Source ที่ USER DSN

Uncategorized

Culture

ตั้งใจเขียน blog นี้สดุดี ampam (เขาเขียนอย่างนี้บน slide จริงๆ นะ ดูแล้วหมั่นเขี้ยวชะมัด) เมื่อวานที่มาพูดเรื่อง “Building Agile Culture for Any Scale” แต่ด้วยความที่เพลิดเพลินกับการบรรยายที่โคตรจะลื่นไหลของ amp กับกำลังลุ้นวอลเล่ย์บอลชายซีเกมส์อยู่ก็ไม่ได้เก็บประเด็นเท่าที่ควร

สนใจเนื้อหาของ session นี้ไปอ่านได้ที่ blog ของคุณ KANOKON CHANSOM http://chansom.tumblr.com/post/70684701242 ได้เลย

ตัวผมเองกำลังอินกับเรื่องวัฒนธรรมองค์กรมาก เพราะเพิ่งอ่านหนังสือ “ใช้ความสุขทำกำไร” ของ โทนี เช CEO ของ zappos.com จบหมาดๆ

deliverhappiness

 

Continue reading